ทอดกฐิน ร่วมสร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ จ.อุตรดิตถ์ พ.ศ.2560

ขอเชิญทอดกฐินสามัคคี ร่วมสร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ ให้แล้วเสร็จ สวยงาม
ในวันเสาร์ที่ 14 และ วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2560
ณ วัดปากห้วยฉลอง ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โทร 0801252165


การสร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ (ปลายปี พ.ศ.2559)

หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ ซึ่งตอนนี้เกือบเสร็จสมบูรณ์


จึงขอเชิญชวนพี่น้อง ญาติโยม ทั้งหลาย ร่วมบุญ ร่วมแรง ร่วมใจ สร้างให้แล้วเสร็จ

และในปี พ.ศ.2560 จะอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐ์ฐาน ณ พระมหาเจดีย์ด้านบน


ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะ ทุกๆ คนช่วยกัน รวมศรัทธา ลงมือ ลงแรง ลงทุนทรัพย์ ตลอดจน พระเณร ที่ร่วมสร้าง เพื่อให้เป็นสมบัติของชาติ และ พระศาสนา สืบไป

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ หน้าบันชั้น 7 ของ หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์


หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ แห่งนี้ สร้างถวายแด่ผู้มีคุณของแผ่นดิน และหนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช เราจึงนำรูปหล่อของท่านมาประดับไว้ ณ หน้าบัน ชั้นที่ 7 เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง

ยกช่อฟ้า ณ หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์

ช่อฟ้า มีความหมายถึง ช่อที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้า 
เป็น นัย แห่งการบูชาพระรัตนตรัยและ ปวงเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นฟ้า


หลวงพี่บุญ มือปั้นช่อฟ้า สุดเนี๊ยบของเรา

ประวัติการสร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ (พ.ศ.2554-2559)


หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ วัดปากห้วยฉลอง อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

    หอพระไตรปิฎก คือ อาคารซึ่งใช้เป็น ที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือ หนังสือพระธรรม คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หอพระไตรปิฎก จึงมีสถานะเท่ากับเป็น หอสมุดของวัด ส่วน พระมหาเจดีย์ ที่สร้างไว้ด้านบนสุดมีไว้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นแหล่งให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวต่างๆ และเป็นพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา และ หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ แห่งนี้ ยังสร้างถวายเป็นพระราชกุศล แด่ ผู้มีพระคุณต่อแผ่นดินทั้ง 3 พระองค์ คือ

1.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  2.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  3.พระสุพรรณกัลยา

     เป้าหมายหลักที่ให้ญาติโยมร่วมด้วยช่วยกันสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่ให้พุทธศาสนิกชน ได้ศึกษาเรียนรู้แก่นแท้ของธรรมมะ และอนาคตจะสร้างให้ที่นี่เป็น สถานที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของปวงชนชาวไทย ให้เป็นสมบัติประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาสืบไป

     เริ่มสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554 ซึ่งท่านพระอาจารย์ โกศล นาถธัมโม ได้ริเริ่มไว้
ถ้านับตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มขุดหลุมกัน (ปีนี้ พ.ศ.2558) ก็ย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ในการก่อสร้างแล้ว ซึ่งทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างก็ได้มาจากญาติโยมที่มีจิตศรัทธา รวมถึงบริวารกฐินที่นำมาถวายในแต่ละปี  สำหรับงานก่อสร้างส่วนใหญ่ก็เป็น พระ เณร นี่แหละครับที่ช่วยกันสร้างขึ้นมา

     ถ้าถามว่าทำไมต้องให้ พระ เณร มาทำงานก่อสร้างแบบนี้ ก็เพราะนี่ก็เป็นวิธีเจริญสมาธิรูปแบบหนึ่ง คล้ายๆ กับการนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม แต่สิ่งที่เราได้มากกว่าก็คือ เราได้ทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม

นามธรรม หมายถึง สิ่งที่เห็นด้วยความคิด คือได้ฝึกสมาธิ ตระหนักรู้ในสิ่งที่เราทำ
รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปร่าง ในที่นี้คือ ได้สร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์

     ซึ่ง พระ เณร ทุกรูปที่มาบวชเรียนอยู่ที่นี่ นอกจากจะได้ เจริญศีล เจริญภาวนาแล้ว พอลาสิกขาออกไป ก็ยังได้ความรู้และวิชาชีพติดตัวไปด้วย และเหตุนี้เอง ญาติโยมทั้งหลายที่ อุปถัมภ์ค้ำชูวัด รวมถึง พระ เณร ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม จึงได้บุญจากเหตุนี้ด้วยเป็นต้น

เรามาดูกันว่า การก่อสร้าง หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ ในแต่ละปีมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง


สร้างหอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ สองปีแรก ( พ.ศ.2554 - 2555 )

หอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ แห่งนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554 
ซึ่งท่านพระอาจารย์ โกศล นาถธัมโม ได้ริเริ่มไว้

เริ่มจากช่วยกันขุดหลุมเสาตอม่อ เนื่องจากตัวโครงสร้างหอไตรมีขนาดใหญ่ 
หลุมตอม่อก็เลยต้องใหญ่ พระเณรขุดกันมือแตกกันเลยทีเดียว

สร้างหอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ ปีที่ 3 ( พ.ศ.2556 )

ปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว ที่สร้างหอพระไตรปิฎกกันมา 

วางแผ่นพื้น ชั้น 2 เริ่มสูงแล้วก็เลยต้องใช้เครนยกขึ้น

สร้างหอพระไตรปิฎก มหาเจดีย์ ปีที่ 4 ( ต้นปี พ.ศ.2557 )

เทคาน ชั้น 5 สูงขนาดนี้จะให้พระเณรหิ้วปูนขึ้นไปเทคงไม่ไหว 
ก็เลยจำเป็นต้องใช้รถเครน